ปรัชญา : Philosophy
ท้องถิ่นพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยครูดีและมีคุณภาพ
วิสัยทัศน์ : Vision
“เป็นสถาบันต้นแบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ มุ่งเน้นภาษา ไอที วิจัย และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโลก Digital และ New Normal เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยในศตวรรษที่ 21”
พันธกิจ : Mission
มีพันธกิจในการจัดการศึกษาสาขาการศึกษาดังนี้
- ผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานสากล สามาถแข่งขันได้ระดับชาติและนานาชาติ
- พัฒนาคณาจารย์ และนักศึกษาครูให้มีความสามารถในการใช้ภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศและวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่นและประเทศ
- พัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากล สอดคล้องกับยุค Digital และ New Normal
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานสากล
- ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้สำหรับการผลิตและพัฒนาคนในทุกช่วงวัย
- บริหารจัดการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
ประเด็นยุทธศาสตร์: Strategic Issue
- การพัฒนาท้องถิ่น
- การผลิตและพัฒนาครู
- ยกระดับคุณภาพการศึกษา
- การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
กลยุทธ์: Strategies
- วางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม โดยสร้างและพัฒนาความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ในการดำเนินโครงการตามพันธกิจและศักยภาพของคณะ
- บูรณาการความร่วมมือภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม) ในการดำเนินโครงการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการวิจัยและการพัฒนาท้องถิ่น
- พัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ และเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมของภาคใต้
- จัดตั้งศูนย์พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการบริการวิชาการและการพัฒนาครูในท้องถิ่นแบบครบวงจร
- ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์ และกระบวนการผลิตบัณฑิตครูให้มีสมรรถนะเป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศด้วย School Integrated Learning (SIL) และแพลตฟอร์มเครือข่ายการเรียนรู้
- ปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ทันสมัย และพัฒนาหลักสูตรใหม่ในรูปแบบสหวิทยาการ และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ที่ตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพระราชดำริ
- บูรณาการความร่วมมือภายกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม) ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
- พัฒนาสมรรถนะครูของครูให้มีความเป็นมืออาชีพ บ่มเพาะนักศึกษาครุศาสตร์ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพพร้อมด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูและ คุณลักษณะ 4 ประการ 1) ทัศนคติที่ดีและถูกต้อง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง 3) มีงานทำ มีอาชีพ 4) เป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย
- พัฒนาระบบและกลไกการผลิตและพัฒนาครูโดยการสร้าง Partnership ในระดับชาติและนานาชาติ
- เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับคณาจารย์เพื่อการจัดการเรียนการสอน และสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
- สนับสนุนเครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานเพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตและพัฒนาครู
- ปรับปรุงหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Digital New Normal เพื่อรองรับสถานการณ์และความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
- เร่งพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ด้านการใช้ภาษา ไอที วิจัย และนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตและพัฒนาครู
- พัฒนาบัณฑิตให้สามารถเข้าสู่วิชาชีพและได้รับการเสริมสมรรถนะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
- พัฒนาห้องเรียนและห้องปฏิบัติอัจฉริยะ (Digital Classroom) เพื่อการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและเข้าสู่วิชาชีพ ได้รับการเสริมสมรรถนะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศดิจิทัลเพื่อให้สามารถสนับสนุนคณาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนบัณฑิตและพัฒนาครู
- ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล เพื่อพัฒนาคนไทยในศตวรรษที่ 21 ทุกช่วงวัย
- ส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมเพื่อสร้างความเป็นเลิศในการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ
- พัฒนาบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์ สมรรถนะและคุณลักษณะ 4 ประการ (มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง มีงานทำมีอาชีพ และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย) พร้อมรองรับบริบทที่เปลี่ยนแปลง
- ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น
- พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ทุกสาขาวิชาให้เป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
- พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมกับสถานะมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นที่ยอมรับด้านการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีเพื่อสนับสนุนคณาจารย์และบุคลากรให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนในการผลิตและการพัฒนาครู
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถสนับสนุนและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ