Back

พัฒนาการของคณะและการเปิดสอนหลักสูตร :

คณะครุศาสตร์เปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2500 โดยมีพัฒนาการของหลักสูตร ดังนี้
ปี 2500 หลักสูตร ป.กศ. สาขาการศึกษา
ปี 2512 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง)
ปี 2517 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 2 ปี
ปี 2518 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี
ปี 2546 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี (ชุดวิชา)
ปี 2547 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี
ปี 2549 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี
ปี 2560 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี
ปี 2562 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต อิงสมรรถนะ 4 ปี

ประวัติความเป็นมา :

คณะครุศาสตร์เป็นหน่วยงานวิชาการเก่าแก่ที่สุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจนกล่าวได้ว่ามีมาแต่ครั้งเริ่มก่อตั้งสถาบันแห่งนี้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 มีฐานะเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู” เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และเมื่อได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยครู” บทบาทการผลิตกำลังคนยังคงอยู่ในสาขาเดิม คือ สาขาวิชาการศึกษา เพียงแต่ขยายเวลาการผลิตออกไปเป็น 4 ปีการศึกษา ตามข้อบังคับของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง) เท่านั้น ครูอาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนในวิชาการศึกษาหรือวิชาครูโดยตรง สังกัดอยู่ในหน่วยงานที่เรียกว่า “หมวดวิชาการศึกษา” ตลอดมา

โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช :

บนพื้นที่ 300 ไร่ บริเวณเชิงเขามหาชัย หมู่ที่ 4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปทางทิศตะวันตกตามถนนนคร-นบพิตำ เป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชเชื่อว่าประกาศจัดตั้งครั้งนั้นเพราะอิทธิพลทางการเมืองเพราะได้ยุบโรงเรียนฝึกหัดครูตรังย้ายครูอาจารย์และทรัพย์สินมาสังกัดโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชและได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ในปีนั้นเองแต่เนื่องจากก่อสร้างอาคารเรียนไม่ทันจึงเปิดทำการสอนชั่วคราวที่อาคารห้องสมุดประชาชนสนามหน้าเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่ออาคารเรียนและหอนอนก่อสร้างเสร็จแล้วในปีพ.ศ. 2502 จึงเปิดสอนเป็นการถาวร ณ บริเวณเชิงเขามหาชัยการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. 2500 มิใช่เป็นการตั้งครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ 52 ปี คือ พ.ศ. 2448 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาก่อนแล้วโดยใช้กุฏิของพระวัดท่าโพธิ์เป็นสถานที่เรียนมีนักเรียนฝึกหัดครูรุ่นแรก 22 คนจึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหดครูนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2500 นั้นเท่ากับการเจริญรอยตามนโยบายจัดการศึกษาของสมเด็จ พระปิยมหาราชนั่นเอง

วิทยาลัยครู :

หลังจากโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชเปิดสอนมาครบ 12 ปี กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกระดับฐานะเป็น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2512 และเปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง(ป.กศ.ชั้นสูง) ประจวบกับช่วงเวลาดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งรัดการผลิตครู จึงได้เปิดสอนภาคนอกเวลาแก่บุคคลภายนอกในหลักสูตร ป.กศ. และ ป.กศ.ชั้นสูงด้วยโครงการนี้ดำเนินการเรื่อยมาและสิ้นสุดโครงการเมื่อ พ.ศ.2519ปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยครูสังกัด กรมการฝึกหัดครูรวม17วิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิตหลักสูตร 2 ปี รับผู้สำเร็จ ป.กศ.ชั้นสูงหรือสำเร็จประโยคครูมัธยม (พ.ม.) วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 17 ของวิทยาลัยครูที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีดังกล่าวสำหรับในปีแรกเปิดสอนวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป เพียงวิชาเดียวปีการศึกษา 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพุทธศักราช 2518 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมีหน้าที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพุทธศักราช 2518 ดังนี้ มาตรา 5 ให้วิทยาลัยครู เป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิชาการ และผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและให้บริการทางวิชาการแก่สังคมปีการศึกษา 2527 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็นวิทยาลัยหนึ่งที่ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยาลัยชุมชนในวิทยาลัยครูตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการที่กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชนและเร่งรัดการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาและสร้างกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เนื่องจากพระราชบัญญัติที่กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชนและเร่งรัดการจัดการ ที่กระจายโอกาส พุทธศักราช 2527 ได้กำหนดให้วิทยาลัยครูสามารถจัดการศึกษาสาขาวิชาการอื่น ในระดับปริญญาตรีได้ตามความต้องการของท้องถิ่นนอกเหนือจากสาขาวิชาชีพครูจึงได้ปรับรายวิชาหลักสูตร ของประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เข้าเป็นหลักสูตรอนุปริญญาวิชาเอกพืชศาสตร์ และวิชาเอกก่อสร้าง

สถาบันราชภัฏ :

พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 แล้ววิทยาลัยครูทั้งหมดทั่วประเทศได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 เป็นสถาบันอุดมศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์คือให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงเปิดสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรีและมีหน้าที่ทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครูปีการศึกษา 2538-2542 สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชได้ทำหน้าที่กว้างไกลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยเน้นการพัฒนาคุณภาพและคุณวุฒิของคนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นให้สามารถประกอบอาชีพอยู่ในสังคมหรืออยู่ในท้องถิ่น อย่างมีคุณภาพสถาบันจึงมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามปณิธานที่ว่าแต่งบ้านให้น่าอยู่แต่งภูมิรู้ให้แตกฉานสืบสานวัฒนธรรมนำชุมชนพัฒนาและปรับแต่งบรรยากาศด้านกายภาพของสถาบันให้เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงปีการศึกษา 2542-2545 สถาบันได้ดำเนินภารกิจต่าง ๆ ขยายขอบเขตมากขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามร่างพระราชบัญญัติที่กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการนิติบัญญัติและการปฏิรูประบบราชการ กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การปรับระบบงบประมาณ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร การเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตศึกษา การร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนการวิจัยทุกรูปแบบและการประกันคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันได้รับการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏ :

สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้รับการยกฐานะ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เรียกชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏตามชื่อของสถาบันราชภัฏเดิมสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจึงเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปิดสอนใน 5 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาการจัดการ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และในปีการศึกษา 2557 สภามหาวิทยาลัยได้เห็นชอบให้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คณะครุศาสตร์เริ่มปรากฏรูปร่างเป็นองค์กร “คณะ” อย่างชัดเจนเมื่อพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพุทธศักราช 2518 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาทำให้ครูอาจารย์ที่เคยสังกัดอยู่ในหมวดวิชาการศึกษาทุกคน ได้เปลี่ยนมาสังกัดคณะครุศาสตร์ (ซึ่งในประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูเรียกว่า “คณะวิชาครุศาสตร์” ประกอบด้วย 5 ภาควิชา

เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู เมื่อปีพุทธศักราช 2527 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูอีกครั้ง ในวันที่ 12 มีนาคม 2530 ในประกาศฉบับหลังนี้ได้กำหนดให้คณะวิชาครุศาสตร์ ประกอบด้วย 8 ภาควิชา (รวมโรงเรียนสาธิตเข้าไว้ด้วย)

เมื่อพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชพุทธศักราช 2538 ประกาศใช้ “คณะวิชาครุศาสตร์” จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะครุศาสตร์” เปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารคณะจากหัวหน้าคณะเป็น “คณบดี” และกำหนดให้ส่วนราชการภายในประกอบด้วย 8 ภาควิชา 1 สำนัก 5 ฝ่าย 1 โรงเรียน และ 1 โครงการ

เดือนพฤษภาคม 2540 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้มีมติให้เปลี่ยนแปลงการบริหารแบบภาควิชาเป็นแบบ “โปรแกรมวิชา” และได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ให้คณะครุศาสตร์มีส่วนราชการแบ่งเป็น 2 หน่วย คือ

  1. สำนักงานเลขานุการ
  2. โรงเรียนสาธิต

วันที่ 15 มิถุนายน 2547 สถาบันราชภัฏได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จัดให้คณะครุศาสตร์เป็นส่วนราชการหลักของมหาวิทยาลัย มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตสาขาการศึกษา พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา วิจัย บริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนราชการ กำหนดภาระหน้าที่ มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะวิชาตามพระราชบัญญัติ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึงปัจจุบัน คณะครุศาสตร์มีผู้บริหารในตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาและคณบดี 15 คน คือ

#รายชื่อหัวหน้าคณะวิชาและคณบดีเพศปี พ.ศ. ดำรงตำแหน่ง
1อาจารย์ส่งศรี ชมภูวงศ์(ญ)(2519 – 2523)
2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล นิ่มสุวรรณ(ช)(2523 – 2525)
3ดร.ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์(ช)(2525 – 2528)
4อาจารย์เวศ ศรีละมุล(ช)(2528 – 2534)
5ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชิต ปุริโสดม(ช)(2534 – 2536)
6ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพล เรืองรอง(ช)(2536 – 2543)
7ผู้ช่วยศาสตราจารยณรงค์ อุ้ยนอง(ช)(2543 – 2545)
8ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล นิ่มสุวรรณ(ช)(2545 – 2546)
9ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษร รองเดช(ญ)(2546 – 2547)
10ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพล เรืองรอง(ช)(2547 – 2548)
11ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์(ช)(2548 – 2552)
12ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล(ญ)(2552 – 2556)
13ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถนอม เลขาพันธ์(ช)(2556 – 2560)
14ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถนอม เลขาพันธ์(ช)(2560 – 2564)
15รองศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง(ช)(19 มิ.ย. 2564 – ปัจจุบัน)